ประเภทของเรซิ่นแบ่งออกได้อย่างไร

เรซิ่นที่มีขายอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ก็มีอยู่หลายประเภทซึ่งทั้งหมดก็อยู่ในตระกูลโพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัวทั้งนั้น (Unsaturated Polyester Resin) พูดง่ายๆ มันก็คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่ต่างจากพลาสติกทั่วไปที่มาเป็นเม็ดๆ แล้วเอามาหลอมเข้าโมลด์ออกมาเป็น ถุง เป็นถังขยะ เป็นเก้าอี้ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน แต่เรซิ่นเป็นพลาสติกเหลว โดยถ้ามันแข็งตัวเป็นพลาสติกแข็งๆแล้วเราจะทำให้มันเหลวเพื่อขึ้นรูปใหม่แบบพลาสติกทั่วไปไม่ได้อีก ทางวิชาการเลยจะเรียกเรซิ่นว่าเป็นพลาสติกแบบ thermoset และเรียกพลาสติกทั่วๆไปว่า thermoplastic

ประเภทของเรซิ่น

  • เกรดออโธ หรือ Orthophthalic เป็นเรซิ่นหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป ทั้งใช้ในการหล่อธรรมดา หล่อใส เคลือบรูป ถังน้ำ ถังบำบัด กันชนรถ หลังคาแผ่นใส ทำได้หมด สารพัดรูปแบบไม่ว่าจะขึ้นรูปด้วยมือทา (hand lay up) ใช้เครื่องพ่น (spray up) ใช้เครื่องพัน (filament winding) หรือแวคคั่ม (infusion) ก็ได้ทั้งนั้น มีอยู่หลายเกรด หลายเบอร์ในตลาด ถ้าต้องการแบบมีใบ cer ของ Lloyd’s ไว้ใช้ทำเรือ หรือแบบมีใบ cer ของ UL ไว้ทำถังน้ำมันใต้ดินก็จะมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ
  • เกรดไอโซ หรือ isophthalic คุณสมบัติทนกรดด่างมากกว่า นิยมใช้ในงานเคลือบถัง หรือเคลือบพื้น ที่ต้องทนการกัดกร่อน และยังนิยมเอามาทำแม่แบบไฟเบอร์กลาสให้มีความทนทาน มากขึ้น
  • เกรดไวนิล หรือ vinyl-ester resin เป็นเรซิ่นที่ทนกรดและด่างที่มีความเข็มข้นและกัดกร่อนสูงที่สุดในกลุ่มเรซิ่น และมีความแข็งแรงสูงกว่าทั้งเกรดออโธและเกรดไอโซด้วย แน่นอนว่าที่ราคาสูงกว่า นิยมนำไปทำถัง ท่อ เคลือบพื้น เคลือบบ่อ ที่ต้องทนการกัดกร่อนสูงและยังนิยมนำไปทำแม่แบบไฟเบอร์กลาสเพื่อความทนทานในการใช้งานเช่นเดียวกัน
  • เกรดอีพ็อกซี่ หรือ epoxy resin ซึ่งเป็นเกรดที่มีความหลากหลายของการใช้งานและสูตรของการใช้ต่างๆ กันไปมากมาย ตั้งแต่ เน้นเรื่องความใสเช่นงานฝากระโปรงคาร์บอน งานเคลือบสติกเกอร์ เรื่องความแข็งแรงที่ใช้ในงานไฟเบอร์กลาสในส่วนที่รับแรงสูงๆ เช่นท่อความดัน ถังแก๊ส ไปจนถึงเน้นเรื่องแรงยึดเหนี่ยว สำหรับทำกาวถือเป็นเรซิ่นที่มีความแข็งแรงสูงสุดแต่ก็ยังด้อยกว่าเกรดไวนิลในแง่การทนการกัดกร่อน