สารดูดความชื้นเป็นผลึกไม่มีสีหรือเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มีจุดหลอมเหลวที่ 1,710 ºC และมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 20.-2.6 ไม่ละลายในน้ำหรือละลายได้น้อยมาก รวมถึงไม่ละลายในกรด ยกเว้นกรดไฮโดรฟลูออริก (HF) แต่สามารถละลายในด่างได้ดี และเมื่อละลายจะได้สารประกอบซิลิเกตของด่างนั้น เช่น โซเดียมซิลิเกต
ซิลิก้าเจล เป็นของแข็งอสัณฐานหรือมีรูปร่างค่อนข้างกลมที่มีรูพรุน มีพื้นที่ผิว (specific surface area) ประมาณ 300-1000 ตารางเมตร/กรัม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-100 นาโนเมตร มีตั้งแต่เป็นก้อนแข็งจนถึงเป็นผงละเอียด ภายในมีรูพรุน ขนาดตั้งแต่ 5 Aº – 3000 Aº ซึ่งอาจจัดแบ่งขนาดของรูพรุนจากกระบวนการผลิตได้ 2 ประเภท คือ
- สารดูดความชื้นที่มีรูพรุนขนาดเล็ก (narrow pore silica gels) มีขนาดของรูโดยเฉลี่ยประมาณ 20 Aº
- สารดูดความชื้นที่มีรูพรุนกว้าง (wide pore silica gels) มีขนาดของรูเฉลี่ย 110 Aº หรือมากกว่า
สารดูดความชื้นเป็นสารที่มีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic) ทำให้ไม่บวมเมื่อสัมผัสกับสารละลาย และยังคงโครงสร้างเดิมไว้ได้ การเปลี่ยนซิลิก้า เจลที่ไม่มีน้ำ (anhydrous silica gel) ไปเป็นซิลิก้าเจลที่มีน้ำ (soft gel) ต้องใช้น้ำ 100 ส่วนต่อซิลิก้าเจล 1 ส่วน แต่ความคงตัวของสารดูดความชื้นยังต้องขึ้นกับปัจจัยของความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลายด้วยเช่นกัน โดยซิลิก้าเจลสามารถละลายได้ที่ pH สูงกว่า 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ pH สูงกว่า 7.5 และที่ pH ต่ำกว่า 2 ซึ่ง สารดูดความชื้นจะละลายเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว การดูดซับบนสารดูดความชื้นโดยทั่วไปเป็นการดูดซับทางกายภาพเกิดจากปฏิกิริยาของแรงวัลเดอร์วาล์ว (Van der Waals interactions) และแรงจากการรวมตัวกันของน้ำ (capillary condensation) ที่ความชื้นสัมพัทธ์สูง http://www.powerdry.co.th/