การเลือกร้านยางรถยนต์ อุดรธานีเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับรถยนต์ซึ่งขาดไม่ได้และไม่ควรปล่อยให้เกิดความผิดพลาด เพราะส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งบ่อยครั้งพบว่ามักเกิดอุบัติเหตุจากยางระเบิด โดยมีสาเหตุมาจากยางเสื่อมสภาพ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้แนะข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ ตรวจสอบและดูแลรักษายางรถยนต์ ดังนี้
- การเลือกใช้ยางรถยนต์
ควรเลือกใช้ยางที่เหมาะสมกับสภาพรถ การใช้งานและเส้นทาง รวมถึงมีขนาดเดียวหรือกับยางมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถ และควรเลือกยี่ห้อ รุ่น ขนาดยางให้เหมือนกันทั้ง 4 เส้น (ไม่ควรคิดเปลี่ยนทีละคู่ เพื่อหวังประหยัด) เปลี่ยนยางทุก ๆ 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร เพราะถึงแม้ดอกยางจะเหลือมาก แต่เนื้อยางอาจแข็งตัวหรือหมดอายุไปแล้ว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนลดลง
ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ยางที่มีขนาดตรงกับมาตรฐานเดิมจากโรงงาน หากเปลี่ยนเป็นล้อเล็กลงจากเดิม ให้เพิ่มขนาดแก้มยาง แต่หากใช้ล้อใหญ่ขึ้น ให้ลดขนาดแก้มยางลง โดยให้เส้นรอบวงใกล้เคียงกับล้อมาตรฐานมากที่สุด
กรณีใช้งานรถยนต์บนถนนเรียบ ควรเลือกยางที่มีดอกยางละเอียด ร่องยางแคบและถี่ เพื่อจะได้มีผิวหน้ายางสัมผัสถนนมากที่สุด คอยช่วยยึดเกาะถนนและมีประสิทธิภาพในการรีดน้ำมากขึ้น หากใช้งานบนถนนขรุขระหรือลุยโคลนเป็นประจำ ควรเลือกยางที่มีดอกยางขนาดใหญ่และร่องห่าง เพื่อช่วยสกัดโคลน หิน และไม่ติดตามร่องยาง
- การเติมแรงดันลมยางรถยนต์
หมั่นตรวจสอบแรงดันลมยางเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง กรณีเดินทางไกลควรเติมลมยางให้มากกว่าปกติ 3-5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสารและน้ำหนักบรรทุก) และไม่ควรปล่อยให้ลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสูงมากและขยายตัวจนเป็นอันตรายได้) แต่ในการใช้งานโดยทั่วไปอาจไม่มีความจำเป็นต้องเติมแรงดันลมยางเกินกว่าผู้ผลิตแนะนำหรือหาร้านยางรถยนต์ อุดรธานีที่ได้มาตารฐานให้ช่วยเราเช็คก็ได้
ตรวจสอบแรงดันลมยางด้วยเกจ์วัดลมที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรตรวจสอบลมยางด้วยสายตา เพราะอาจคลาดเคลื่อนสูง นอกจากนี้ควรเติมลมยางอะไหล่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานมากกว่ามาตรฐานสัก 3-4 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้นำออกมาใช้งานได้ทันที แล้วค่อยลดแรงดันลมยางให้อยู่ในค่าปกติ
การเติมลมยางควรทำขณะยางเย็นตัว เพราะจะได้ค่าแรงดันลมยางที่ถูกต้อง หากเติมหลังขับรถหรือขณะที่ยางยังมีความร้อน จะได้ค่าแรงดันลมยางสูงกว่าปกติ และไม่เติมลมยางหรือปล่อยให้ลมยางต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะหน้ายางจะยุบตัวและสัมผัสพื้นผิวถนนมากเกินไป ทำให้แก้มยางฉีกขาด ไหล่ยางเกิดความร้อนสูง อีกทั้งยังสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น รวมถึงส่งผลให้การบังคับควบคุมด้อยลง